คือ กระบวนการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) ด้วยโครเมียม (Chromium) การชุบฮาร์ดโครมสามารถทำได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด ยกเว้น อลูมิเนียม และขี้ตะกั่ว โลหะที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง
การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การชุบบาง เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อ
การสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี
2. การชุบหนา เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
สามารถชุบหนาถึง 1.0มม.
คุณลักษณะจำเพาะ เรียบลื่น เป็นมันเงา และไม่เป็นสนิม เหมาะสำหรับการชุบผิว แม่พิมพ์พลาสติก เพื่อสามารถแกะชิ้นงานออกได้ง่าย
ความสวยงาม และเพิ่มความแข็งแกร่งของชิ้นงานให้มีความแข็งสูงถึง 58-62 H.R.C
คุณสมบัติของชิ้นงานหลังการชุบฮาร์ดโครม
- ทนความร้อน (Heat Resistance)- ค่าความแข็งสูง (High Hardness)
- ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี (Good Wear Resistance) - ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี (Good Corrosion Resistance) - สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ (Low Coefficient of Friction) - ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ (Low Temperature Treatment)
ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ ใบพัด (Rotors) ลูกโม่ (Rollers) วงแหวนลูกสูบ (Piston ring)
ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก www.maxsteelthai.com
|
ความคิดเห็น