กระบอกไฮดรอลิก (HYDRAULIC CYLINDERS)
เป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนในระบบไฮดรอลิกที่นิยมใช้ในทุกอุตสาหกรรม โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดัน ของน้ำมันไฮดรอลิก เป็นแรงผลักหรือดึงในแนวเชิงเส้น กระบอกสูบที่พบในอุตสาหกรรมทั่วไปสามารถแบ่ง ออกเป็นลักษณะใหญ่ๆได้ 3 แบบคือ
1. กระบอกสูบแบบมาตรฐาน (Standard Hydraulic Cylinder)
กระบอกสูบไฮดรอลิกแบบมาตรฐานเป็นที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนมาก ง่ายต่อการบำรุงรักษา สามารถเลือกการติดตั้งได้หลายรูปแบบ มีทั้งในรุ่นแรงดันต่ำ (Low pressure 70 bar) และในรุ่นแรงดันสูง (High Pressure 210 bar) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ขนาด 32 มิลลิเมตร ถึง 250 มิลลิเมตร ความยาวช่วงชัก (Stroke) ตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ถึง 2,500 มิลลิเมตร
2. กระบอกสูบแบบกลม (Welded Cylinder)
กระบอกสูบไฮดรอลิกแบบกลม (Welded Cylinder) หรือบางทีนิยมเรียกว่า แบบกลมเชื่อม พบมากในงานMobile เช่นในรถ เครน, เรือ, เครื่องบิน, รถขุดเจาะ เนื่องจากสามารถรับแรงดันได้สูงสุด 350 bar ในรุ่น High Pressure โครงสร้างของกระบอกสูบชนิดนี้จะถูกออกแบบให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ขนาด 32 มิลลิเมตร ถึง 600 มิลลิเมตร ความยาวช่วงชัก (Stroke) ตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ถึง 2,500 มิลลิเมตร
3. กระบอกสูบแบบคอมแพค (Hydraulic compact Cylinder)
กระบอกสูบไฮดรอลิกแบบคอมแพค (Hydraulic compact Cylinder) เหมาะกับงาน Automation ในงานประเภท Clamp,งาน Jig เป็นต้น โครงสร้างของกระบอกชนิดนี้ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียม จึงมีแรงดันที่เหมาะสมกับการใช้งานของกระบอกชนิดนี้คือ 70 bar และมีช่วงชักที่ไม่ยาวมาก โดยความยาวช่วงชักของกระบอกชนิดนี้ไม่เกิน 100มิลลิเมตร กระบอกชนิดนี้เหมาะสำหรับการติดตั้ง Sensor เพื่อจับตำแหน่งของลูกสูบ
กระบอกไฮดรอลิก (Hydraulic Cylinder)
กระบอกไฮดรอลิคคือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนกำลังงานความดันและความเร็วของน้ำมันไฮดรอลิกเป็นกำลังงานกลในแนวเส้นตรง เพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่างๆ ในการดัน ยก ดึง หรือขับเคลื่อนชิ้นงาน กระบอกสูบจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. กระบอกสูบทางเดียว (Single acting cylinder) กระบอกสูบทางเดียว ทำงานโดยการรับน้ำมันจากกระบอกสูบทางด้านหัวเพียงทางเดียว เพื่อผลักดันให้ลูกสูบและก้านสูบเคลื่อนที่ไปดันชิ้นงาน โดยจะใช้แรงดันจากสปริงเป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบค่อยๆเคลื่อนที่กลับอย่างช้า
2. กระบอกสูบสองทาง(Double acting cylinder) กระบอกสูบสองทาง ทำงานโดยรับน้ำมันจากกระบอกสูบได้ทั้งด้านหัวและด้านก้านสูบ โดยจะแบ่งการทำงานเป็น 2 ลักษณะคือ
- ลูกสูบเคลื่อนที่ออกเพื่อผลักดันชิ้นงาน โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านหัวลูกสูบและให้น้ำมันออกทางด้านก้านสูบ
- ลูกสูบเคลื่อนที่เข้าเพื่อดึงชิ้นงานกลับเข้ามา โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านก้านสูบและให้น้ำมันออกทางด้านหัวลูกสูบ
3. กระบอกสูบสองทางแบบมีก้านสูบสองด้าน (Double rod cylinder) กระบอกสูบสองทางแบบมีก้านสูบสองด้าน ทำงานโดยรับน้ำมันจากกระบอกสูบได้ทั้งสองด้าน เพื่อใช้ในการผลักและดึงชิ้นงาน
โครงสร้างโดยทั่วไปของกระบอกสูบไฮดรอลิก
- Rod Hard Chrome : ก้านกระบอกสูบ
- Front cover : ฝาหัว
- Honest Tube : เสื้อกระบอกสูบ
- Tri rod : เสารั้งกระบอกสูบ
- Back cover : ฝาท้าย
- Wiper Seal : ซีลกันฝุ่น
- Bushing : บู๊ชทองเหลือง
- Wear ring : ซีลกันสึก
- Rod Seal : ซีลก้านสูบ
- Cushion Seal : ซีลกันกระแทกของลูกสูบ
- Piston Seal : ซีลลูกสูบ
- Teflon : เทปซีลกันสึก
- O-ring : ซีลฝาท้าย
- O-ring : ซีลฝาหัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://ไฮดรอลิค.net/
ความคิดเห็น